ภ.ง.ด.90 กับ ภ.ง.ด.91 คืออะไร

ภ.ง.ด.90

ภ.ง.ด.91


ภ.ง.ด.90 กับ ภ.ง.ด.91 คืออะไร 


            ภ.ง.ด.90  คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สําหรับผู้มีเงินได้กรณีทั่วไป  ต้องยื่นภายใน 31 มีนาคมของทุกปี


ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90

        ได้แก่ ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) ถึง (8)  แห่งประมวลรัษฎากร หลายประเภทหรือประเภทเดียว (แต่มิใช่เงินได้ตาม มาตรา 40(1)  แห่งประมวลรัษฎากร ประเภทเดียว) ในปีภาษี 2559 ตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
       1. ผู้ที่เป็นโสด  มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000  บาท
       2. ผู้ที่มีคู่สมรส  มีเงินได้พึงประเมินไม่ว่าฝ่ายเดียวหรือทั้งสอง    ฝ่ายรวมกันเกิน 120,000  บาท
       3. กองมรดก ที่ยังมิได้แบ่งมีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000  บาท
       4. ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000  บาท
       5. คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000  บาท
       6. วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจ ชุมชนเฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล  ซึ่งมีเงินได้เกิน 1,800,000  บาท หรือมีเงินได้เกิน 60,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,800,000 บาท ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด

ภ.ง.ด.90


              ภ.ง.ด.91  คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สําหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ประเภทเดียว ต้องยื่นภายใน 31 มีนาคมของทุกปี


ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.91

         ได้แก่ ผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานตามมาตรา 40 (1) แห่ง ประมวลรัษฎากร ประเภทเดียว ในปี ภาษี 2559  ตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
         1. ผู้ที่เป็นโสด  มีเงินได้พึงประเมิน เกิน 120,000  บาท
         2. ผู้ที่มีคู่สมรส  มีเงินได้พึงประเมินไม่ว่าฝ่ายเดียวหรือทั้งสอง ฝ่ายรวมกัน เกิน 220,000  บาท
        เงินได้ตามมาตรา 40 (1)  ได้แก่เงินได้เนื่องจากการจ้าง แรงงานไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บําเหน็จ บํานาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คํานวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่นายจ้างจ่ายชําระหนี้ใดๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชําระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานรวมทั้งเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานที่มีระยะเวลาการทํางานน้อยกว่า 5 ปี  เงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานรวมทั้งเงินชดเชย  ตามกฎหมายแรงงานที่มีระยะเวลาการทํางาน 5 ปี  ขึ้นไปที่เลือกนํามา รวมคํานวณภาษีกับเงินได้อื่น 
         กรณีเลือกไม่นําเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออก    จากงานมารวมคํานวณภาษีกับเงินได้อื่น ให้แสดงรายการในใบแนบและยื่นมาพร้อมกับ แบบ ภ.ง.ด.91 ฉบับนี้ด้วย

ภ.ง.ด.91

ที่มา : กรมสรรพากร 


No comments: